เตรังกานู มาเลเซีย – เพื่อส่งเสริมการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยมาเลเซียเตรังกานู (UMT) และ CRT ได้ทำการลงนามในเอกสารสำคัญอย่างเป็นทางการ ซึ่งการดำเนินการนี้จะเป็นการวางรากฐานสำหรับความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยในระยะยาว เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมในด้านการจัดการคาร์บอน โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาวิธีการและมาตรฐานคำนวณคาร์บอนเครดิตของมาเลเซีย โดยเฉพาะโครงการคาร์บอนเครดิตจากธรรมชาติและคาร์บอนสีน้ำเงิน
สาระสำคัญของเอกสารความร่วมมือนี้ ได้แก่:
- การวิจัยทางวิชาการและโครงการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคาร์บอน
- การเผยแพร่ผลงานวิจัยร่วมกันและการขอทุนวิจัย
- โอกาสฝึกงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ออกแบบมาเพื่อให้เรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจริง
- โครงการริเริ่มและการพัฒนานโยบายเพื่อการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) และความเป็นกลางทางคาร์บอน
- การร่วมมือเพิ่มเติมตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน
“ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ดร. ซิตี้ มาเรียม บินตี มูฮัมหมัด นอร์ ผู้ประสานงานจากคณะวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางทะเลของ UMT กล่าว “โดยการทำงานร่วมกับ CRT เรามุ่งหวังที่จะพัฒนาวิธีการคำนวณคาร์บอนเครดิตให้แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของโครงการที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและคาร์บอนสีน้ำเงินในมาเลเซีย”
นายนาชมี โมฮัมหมัด ที่ปรึกษาของ CRT กล่าวว่า “ที่ CRT เราตระหนักถึงความสำคัญของการมีมาตรฐานคาร์บอนเครดิตที่ครอบคลุม และเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมของภูมิภาคของเรา ความร่วมมือสำคัญครั้งนี้จะเป็นการเปิดทางสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ซึ่งการแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญของเราจะสามารถสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมและกำหนดมาตรฐานในการจัดการคาร์บอนในประเทศมาเลเซีย”
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมาเลเซียเตรังกานู (UMT): UMT เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำในประเทศมาเลเซีย มีชื่อเสียงในด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม UMT มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความยั่งยืนและดำเนินการวิจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CRT: CRT เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นด้านการจัดการคาร์บอนและโครงการด้านความยั่งยืน CRT มุ่งมั่นที่จะให้บริการในวิธีแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนานโยบายด้าน ESG อีกทั้งยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านดาวเทียมในการประเมิณปริมาณคาร์บอนเครดิต เพื่อให้มีความแม่นยำและความโปร่งใสในการตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ความร่วมมือสำคัญนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมืออื่นๆ ที่ไม่เพียงแต่สนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการ แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดอนาคตของมาเลเซียในการจัดการคาร์บอนอย่างยั่งยืน